ภัยทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ปี 2016
เนื่องจากทางคนใกล้ตัวผมเจอกับตัวเอง Blog นี้ผมเลยรวบรวมภัยทางการเงินหลายๆ แบบที่มีในยุคนี้ สมัยนี้ช่องทางสื่อสารมีมากขึ้น เทคโนโลยีใหม่ๆ มีเกิดขึ้นทุกวัน ข้อดีก็มาก แต่มันก็มีคนเอาช่องโหว่ของเทคโนโลยี มาหาผลประโยชน์ในทางไม่ดีกับคนอื่นมากขึ้นตามไปด้วย
ก่อนอื่นขอนิยามเองก่อนว่า "ภัยทางการเงิน" สำหรับบทความนี้หมายถึงอะไรก็ตามที่ทำให้เราเสียเงินโดยใช่เหตุ หรือเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์ เสียเงินโดยไม่จำเป็นก็ได้ รวมมาไว้ เรียงลำดับตามความรุนแรงจากน้อยไปมาก ดังนี้ครับ
ระดับเล็ก
1. ยัดเยียดให้ทำบัตรเครดิต/บัตรเดบิตพ่วงประกัน โดยไม่มีความจำเป็น
เริ่มบัตรต่างๆนี่น่าจะโดนกันบ่อย ตั้งแต่การ Direct Sell โทรเข้ามือถือทุกวัน จากธนาคารต่างๆ จากบูธที่ตั้งตามห้าง ถ้าใจอ่อนยอมสมัครไปซักที่ก็อาจมีบัตรพ่วงแถมมาให้ด้วย เช่นสมัครบัตรเครดิตธรรมดา ได้บัตรเครดิตของห้างดังมาด้วยอีกใบ ได้บัตรกดเงินสดมาด้วยอีก ต้องดูดีๆกันหน่อยอีกกรณีก็เป็นเคสที่ว่าขอสมัครบัตร ATM ธนาคารจะอ้างว่าบัตรหมด แล้วให้สมัครบัตรเดบิตที่มีพ่วงประกันอุบัติเหตุ (ที่เราไม่เคยจะได้ใช้) ซึ่งมีค่าธรรมเนียมรายปีเยอะกว่า
ตัวอย่าง (จาก Pantip) SCB, KBank
วิธีป้องกัน: คือปฏิเสธที่จะทำบัตรนั้นๆ หรือถ้ายังคงมีการโทรรบกวนอยู่บ่อยๆ อาจลง App มือถือพวก LINE Who Call เพื่อแสดงข้อมูลของผู้ที่โทรเข้ามาว่าเป็นเบอร์จากพวก Sale ขายบัตรเครดิตรึเปล่า
2. ตู้ ATM Skimming ดักจับข้อมูล
คือตู้ ATM ที่มีอุปกรณ์ของมิจฉาชีพ เช่นพวกหน้ากากติด Sensor ไปครอบบนตู้ ATM จริงๆ เพื่อดักข้อมูลบัตรของเราไปใช้ - อ่านเพิ่มเติม ATM Skimmer - ThaiCERTวิธีป้องกัน: คือเวลาจะใช้ตู้ก็ใช้ตู้ที่อยู่ในที่คนเยอะๆ หน่อย ดูดีมีมาตรฐานหน่อย ไม่ใช้ตู้ที่ดูลักษณะแล้วแปลกๆ เก่าๆ
3. Web Phishing เว็บหลอกดักข้อมูล
คือเว็บที่สร้างขึ้นมาเลียบแบบเว็บหลักเพื่อดักเอาข้อมูลที่ผู้ใช้กรอก ส่วนใหญ่เป็นพวกเว็บทำธุรกรรมออนไลน์ของพวกธนาคาร Internet Banking โดยการหลอกลวงพวกนี้จะทำโดยการส่ง Email โดยทำทีว่าเป็นการประชาสัมพันธ์จากธนาคาร แล้วแนบ Link ปลอมให้คลิกเพื่อนำไปสู่เว็บเลียนแบบดักจับข้อมูลวิธีป้องกัน: ดังนั้นถ้าจะเข้าเว็บที่ทำธุรกรรมการเงินใดๆ ควรตรวจสอบชื่อเว็บให้ดีๆ ว่าสะกดถูกต้อง หรือเรา Click เข้าจากเว็บหลักของธนาคารนั้นจริงๆ ถ้าหากชื่อเว็บเป็น https ด้วยจะดีมาก
4. โปรโมชั่น บัตรเครดิต, ค่ายมือถือ, etc. แบบซับซ้อนสอดไส้
อย่างหลังสุดนี่มาในหลายรูปแบบ ซึ่งหากจะบอกว่าเป็นการหลอกลวงก็ไม่เชิงนัก ส่วนใหญ่จะเป็นการเล่นกับความไม่มีวินัย ความเผลอของผู้ใช้บริการตัวอย่างเช่น
- บริการของค่ายมือถือ จำกัดปริมาณที่ใช้ได้ไว้ที่ 5GB ต่อเดือน หากเกินกว่านั้นจะก็เสียเงินแพงมากเมื่อเทียบกับปริมาณที่ใช้จริง
วิธีป้องกัน: คือต้องศึกษาโปรโมชั่นให้เข้าใจ ระวังการใช้งานให้ดี โดยอาจตั้งมือถือให้แจ้งเตือนเมื่อใช้ Internet ถึงปริมาณที่กำหนด
- บริการดอกเบี้ย 0% ของบัตรเครดิต 3 เดือน แต่ต้องโทรแจ้งขอเปิดใช้ก่อน ถ้าหากเราไม่แจ้งเขาเราก็เสียดอกตามปกติ
วิธีป้องกัน: อย่าลืมขอใช้บริการ วางแผนให้ดี
ระดับกลาง
5. เชิญชวน หลอก ยัดเยียด ให้ทำประกันโดยไม่มีความจำเป็น
เรื่องประกันนี่ เนื่องจากแต่ละ Bank มีกำหนดให้สาขาต้องทำยอดการขายให้ได้เยอะๆ ให้ถึงเกณฑ์ ผู้บริโภคอย่างเราๆ เลยมักโดนอะไรแบบนี้ ผู้ที่โดนมักจะเป็นผู้สูงอายุ ไม่ก็โดนทีเผลอ มาในหลายรูปแบบมากตัวอย่าง (จาก Pantip) เช่น
- เอาเงินฝากของเราไปทำประกัน ทหารไทย
- ให้ผู้สูงอายุทำประกันชีวิตเบี้ยสูงๆ link1, ทหารไทย, อื่นๆ
- ยัดไส้ประกันชีวิตแฝงมาในค่างวดรถ SCB
6. Money Game, แชร์ลูกโซ่, HYIP
HYIP (High Yield Investment Program) อะไรพวกนี้ตอนนี้กำลังเป็นที่นิยมเลย มีการใช้ Social Media ในการโฆษณาล่อหลอกให้ร่วงลงทุนโดยมีสิ่งล่อใจคือผลตอบแทนที่สูงเวอร์มากๆ ซึ่งก็อาจมีได้เงินบ้าง (เงินจากชาวบ้านที่เขามาทีหลังนะแหละ) แต่ถ้ามันปิดก็จบกันวิธีป้องกัน: ต้องมีสติ รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร สำหรับวิธีการเช็คว่าการลงทุนนั้นเป็นแชร์ลูกโซ่หรือไม่ ง่ายๆ แค่เราต้องรู้ที่มาที่ไปของรายได้ที่เราจะได้มาตามคำโฆษณา และถ้ามีการให้แนะนำคนอื่นให้มาเข้าร่วมด้วยเยอะๆ แล้วเราจะได้ค่าแนะนำ ให้ตัดสินไว้ก่อนเลยว่าเป็นแชร์ลูกโซ่
ระดับรุนแรง
7. ดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบมหาโหด
เงินกู้นอกระบบนี้ ดอกเบี้ยของมันจะสูงถึง 10-30% ต่อเดือนเลยทีเดียว ซึ่งก็ถ้าไม่วางแผนให้ดี เงินไม่พอจ่ายดอกเบี้ยจะพุ่งสูงมากๆ จนความสามารถในการจ่ายของเราไม่ไหว ได้รับความเสียหายจากเจ้าหนี้ได้วิธีป้องกัน: วางแผนค่าใช้จ่ายให้ดี, ไม่กู้เงินนอกระบบ, หาช่องทางอื่นๆ ดีกว่า
ตัวอย่างเช่น
- ใครกู้เงินนอกระบบ บ้าง มันคือนรกเลยนะ via Pantip
8. ไวรัสเรียกค่าไถ่ (Crypto, Ransomware)
วิธีการทำงานของมันคือ ถ้าผู้ใช้ติดไวรัส จะถูกไวรัสตัวนี้เข้ารหัสไฟล์ใน Computer ทำให้ไม่สามารถเปิดไฟล์ได้ ต้องทำการจ่ายเงินวิธีป้องกัน: เบื้องต้นคือ ทำการสำรองไฟล์ข้อมูลไว้เรื่อยๆ อาจเก็บลงในหลายๆที่ ไม่ Click เปิด Link จาก Email ที่น่าสงสัย
ข้อมูลเพิ่มเติม
- มัลแวร์เรียกค่าไถ่ระบาด - ThaiCERT via Blognone
9. หลอกเอาข้อมูลส่วนตัว, แก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Reverse Social Engineering)
ผู้ร้ายจะทำการปลอมตัวเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือตำรวจ ทำการหลอกเราในแบบต่างๆ เช่นโทรมาบอกว่าเราติดหนี้บัตรเครดิต หรือคนในครอบครัวมีปัญหา ให้ทำการโอนเงินไปที่เลขบัญชีของผู้ร้าย พวกนี้จะเน้นเหยื่อที่เป็นผู้สูงอายุ โจมตีด้านจิตใจ ให้เกิดความตกใจ กลัวจนขาดความระวังฉุกคิดอีกแบบหนึ่งคือผู้ร้ายทำการขอข้อมูลส่วนบุคคลจากเหยื่อ เพื่อที่ไปใช้ยืนยันตัวตนกับผู้ให้บริการ (เช่น เว็บไซด์, ธนาคาร) เพื่อเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล ให้ผู้ร้ายสามารถใช้ประโยชน์จากบริการของเหยื่อได้ - ตัวอย่าง via Blognone
วิธีป้องกัน: ต้องสังเกตุให้ดีหากมีคนแปลกๆ ติดต่อมาขอข้อมูล หรือ ให้ข้อมูลแปลกๆ เพื่อที่จะเอาข้อมูลสำคัญของเรา อย่าหลงเชื่อและอย่าให้ข้อมูลเขาไป ลูกหลานต้องให้ข้อมูลผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ ให้เค้าได้มีการเตรียมตัวเตรียมใจรับมือ ไม่ตกใจจนเกินไป
ข้อมูลเพิ่มเติม
- Social Engineering - ThaiCERT
- แก๊งคอลเซ็นเตอร์หลอกเรียกเงินครู - TNAMCOT
- จับแก๊งคอลเซ็นเตอร์อ้างเป็นตร. ลวงเหยื่อวัยเกษียณโอนเงิน - เดลินิวส์
ข้อสุดท้ายนี่เป็นเหตุให้ผลเขียน Blog นี้ขึ้นเพราะคนทางบ้านเจอกับตัวเองเลยครับ
เว็บแนะนำ
- ภัยทางการเงิน - ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.)- ThaiCERT
ภัยทางการเงินในรูปแบบต่างๆ ปี 2016
Reviewed by Meng Jaa
on
19:19
Rating:
